ปลาป่น โปรตีน55%

ปลาป่นเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญ ให้โปรตีนสูงและมีคุณภาพดี ทำมาจากปลาเป็ดเศษปลาเล็กปลาน้อย   หรือหัวปลาที่เหลือ จากโรงงานทำปลากระป๋อง ทำให้ปลาป่นที่ผลิตได้มีคุณภาพหลากหลาย ดังนั้นในการซื้อขายปลาป่น จึงมีการแบ่งเกรด ตามเปอร์เซนต์โปรตีนในปลาป่น โดยปลาป่นชั้นคุณภาพที่ 1 จะมีโปรตีนไม่น้อยกว่า 60% ปลาป่น ชั้นคุณภาพที่ 2 มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 55% และปลาป่นชั้นคุณภาพที่ 3 มีโปรตีนไม่น้อยกว่า 50%

คุณสมบัติ

    มีโปรตีนสูงประมาณ 50-60 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับชนิดของปลาและขั้นตอนการผลิตปลาป่น
    มีกรดอะมิโน ไลซีน และเมทไธโอนีนสูง
    มีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง
    มีไวตามินบีสูง โดยเฉพาะไวตามินบี 12 และ บี 2

ข้อจำกัดในการใช้

    มีราคาแพง
    มีการปลอมปนด้วยวัสดุอื่นที่มีราคาถูก อาทิ ทราย เปลือกหอยบด ยูเรีย ขนไก่ เป็นต้น ทำให้คุณค่าทางอาหารลดลง จะต้องระมัดระวัง
    ในการนำมาใช้
    การใช้ปลาป่นระดับสูงเกินกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ นอกจากจะทำให้อาหารผสมมีราคาแพงแล้วยังมีผลทำให้เนื้อสุกร และไข่กลิ่นคาวปลาด้วย
    ปลาป่นมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ มีโปรตีนแตกต่างกันมาก ต้องระวังในการเลือกซื้อปลาป่นให้ได้คุณภาพตามต้องการ มิฉะนั้นจะมีผลทำให้
    สูตรอาหารที่คำนวณไว้ไม่เพียงพอกับความต้องการของสัตว์ได้

ข้อแนะนำในการใช้

ส่วนประกอบทางเคมี

 

 

ปลาป่น

ปลาป่น

ปลาป่น

60%

55%

50%

ส่วนประกอบ (%)

ความชื้น

8

8

10

โปรตีน

60

55

49.1

ไขมัน

10

8

-

เยื่อใย

-

1.0

-

เถ้า

19

26

-

แคลเซียม

5

7.7

-

ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ได้

3

3.8

-

พลังงานใช้ประโยชน์ได้(กิโลแคลอรี่/กก.)

ในสุกร

2,550

2,550

-

ในสัตว์ปีก

2,950

2,948

-

กรดอะมิโน (%)

 

 

 

ไลซีน

4.57

4.15

3.53

เมทไธโอนีน

1.57

1.44

1.27

เมทไธโอนีน + ซีสตีน

2.14

2.0

1.47

ทริปโตเฟน

0.62

0.60

0.47

ทรีโอนีน

2.44

2.24

1.81

ไอโซลูซีน

2.59

2.37

2.07

อาร์จินีน

3.52

3.22

2.74

ลูซีน

4.19

3.84

3.29

เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน

4.16

4.0

2.62

ฮิสติดีน

1.26

1.15

0.89

เวลีน

2.95

2.70

2.53

ไกลซีน

4.33

4.0

3.43


Visitors: 48,077