ใบกระถินป่น

เป็นวัตถุดิบอาหารที่เกษตรกรนิยมใช้มากชนิดหนึ่ง เพราะนอกจากจะหาซื้อได้ง่ายแล้วเกษตรกรยังสามารถ ผลิตได้เองอีกด้วย คุณภาพของใบกระถินป่นที่มีขายในท้องตลาด จะมีค่าของโปรตีนแตกต่างกันมากตั้งแต่ 14-30 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับว่าจะมีส่วนของก้านใบและกิ่งปะปนมากน้อยแค่ไหน

คุณสมบัติ

    ใบกระถินล้วนๆ แห้งป่นมีโปรตีนสูง ประมาณ 20-24 เปอร์เซ็นต์
    มีเยื่อใยสูง
    มีสารพิษที่เรียกว่าไมโมซีน
    มีสารเบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นแหล่งของไวตามินเอ และสารแซนโทฟิลล์ ซึ่งเป็นสารให้สีสำหรับไข่แดงและเนื้อสัตว์

ข้อจำกัดในการใช้

    เยื่อใยสูง ทำให้ใช้ผสมในสูตรอาหารสัตว์ได้ในระดับต่ำ
    มีสารพิษไมโมซีน ที่เป็นพิษต่อสัตว์ ถ้าใช้ในระดับสูงจะทำให้สัตว์โตช้า ขนร่วงและความสมบูรณ์พันธุ์ต่ำ
    ให้พลังงานต่ำ จะต้องใช้ร่วมกับวัตถุดิบที่ให้พลังงานสูง

ข้อแนะนำในการใช้

    ไม่ควรใช้ใบกระถินสดเลี้ยงสุกร และสัตว์ปีก ควรนำไปผ่านกรรมวิธีลดสารพิษก่อน
    ควรใช้ใบกระถินยักษ์ เพราะมีสารพิษไมโมซีนต่ำกว่าใบกระถินพื้นเมือง ทำให้ใช้ได้ในระดับสูงกว่า ใบกระถินพื้นเมือง
    ใบกระถินแห้งหรือผึ่งแดดจะช่วยลดปริมาณสารพิษลงได้
    ใบกระถินแช่น้ำนาน 24 ชั่วโมง และผึ่งแดดให้แห้งช่วยลดปริมาณสารพิษได้ดีและสามารถ ใช้ในสูตรอาหารได้ในระดับสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ในสัตว์ระยะรุ่น-ขุน
    ควรเลือกใช้ใบกระถินแห้งป่นที่มีสีเขียวและมีก้านใบปนน้อยที่สุด ในการประกอบสูตรอาหาร
    โดยทั่วไปไม่ควรใช้ใบกระถินป่นในสูตรอาหารสัตว์เล็ก และไม่ควรใช้ในระดับเกิน 4-5 เปอร์เซ็นต์ ในสูตรอาหารสุกรและสัตว์ปีกและจะต้องระวังในการปรับระดับพลังงานในสูตรอาหาร ให้เพียงพอกับความต้องการของสัตว์ด้วย

ส่วนประกอบทางเคมี

 

ส่วนประกอบ (%)

ความชื้น

10

โปรตีน

20.2

ไขมัน

3.5

เยื่อใย

18

เถ้า

8.8

 แคลเซียม

0.54

ฟอสฟอรัสใช้ประโยชน์ได้

0.30

พลังงานใช้ประโยชน์ได้(กิโลแคลอรี่/กก.)

ในสุกร

1,300

ในสัตว์ปีก

900

กรดอะมิโน (%)

ไลซีน

1.10

เมทไธโอนีน

0.28

เมทไธโอนีน + ซีสตีน

0.63

ทริปโตเฟน

0.20

ทรีโอนีน

0.80

ไอโซลูซีน

1.73

อาร์จินีน

0.95

ลูซีน

1.50

เฟนิลอะลานีน+ไทโรซีน

1.80

ฮิสติดีน

0.40

เวลีน

1.10

ไกลซีน

0.53

Visitors: 48,049